การตรวจหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก

โดยปกติแล้ว คู่สมรสที่วางแผนมีบุตรจะสามารถตั้งครรภ์ได้ในปีแรกประมาณ 85 % และในปีที่สองประมาณ 7% แต่หากคู่สมรสที่พยายามตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ โดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ (2-3 ครั้งต่อสัปดาห์)  เป็นระยะเวลา 1 ปี แล้วยังไม่ประสบความสำเร็จจะจัดอยู่ในภาวะมีบุตรยาก ซึ่งพบได้ประมาณ 75% ทั่วโลก ดังนั้นหากคู่สมรสใดที่เข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก ควรเข้ารับการปรึกษา ตรวจหาสาเหตุ และนับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ผลการรักษาจะดีกว่ามาเริ่มรักษาเมื่อมีอายุมากขึ้น

อายุของเพศหญิง 35+

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

ในปัจจุบันพบว่าปัญหาภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากอายุของเพศหญิงนั้นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี เมื่อผู้หญิงมีอายุสูงขึ้น จำนวนไข่และคุณภาพของไข่จะลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงไข่ที่มีพันธุกรรมที่ปกติก็มีแนวโน้มที่จะลดลงด้วย เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัย 30 ตอนปลายและ 40 ตอนต้น ความสามารถในการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ผู้หญิงในช่วงวัย 45 ปีขึ้นไปโดยมากจะเข้าสู่วัยใกล้จะหมดประจำเดือน (วัยทอง) โอกาสมีบุตรเกือบเป็นศูนย์ ดังนั้นหากคู่ที่ฝ่ายหญิงมีอายุ 35 ปีหรือมากกว่าพยายามตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติมาแล้วเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่า ควรเข้ารับการประเมินภาวะเจริญพันธุ์โดยเร็วที่สุด

ปัจจัยจากฝ่ายชาย

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุของภาวะที่มีบุตรยากจากฝ่ายชาย พบได้ประมาณ 15-20% แพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุ โดยการตรวจสอบคุณภาพน้ำอสุจิ และตรวจเลือดฮอร์โมน หากผลตรวจน้ำเชื้อพบความผิดปกติมาก เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษา และให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น เลิกบุหรี่ เหล้า หากพบว่าอสุจิมีความผิดปกติมาก แพทย์จะแนะนำให้รับการรักษาด้วยวิธี ICSI และอาจใช้เทคโนโลยีพิเศษที่ช่วยเลือกอสุจิที่มีคุณภาพดีมาทำปฏิสนธิ (ICSI) เช่น Sperm MACS, pICSI Dish

ความผิดปกติของมดลูกและโพรงมดลูก

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

หากมดลูกมีความผิดปกติ เช่น มีเนื้องอกมดลูก (Myoma) หรือมีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก  (Endometrial polyp) อาจส่งผลให้มีบุตรยากได้ โดยเนื้องอกชนิดที่ยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก (Submucous Myoma) และติ่งเนื้อในโพรงมดลูกจะรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน หากตรวจพบแพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป

การอุดตันของท่อนำไข่

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

ในผู้ป่วยที่มีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเทียม หนองในแท้ หรือภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกรานอาจทำให้เกิดภาวะอุดตันของท่อนำไข่ในเพศหญิง ทำให้ไข่และอสุจิไม่สามารถเดินทางพบกันได้ ในกรณีที่ท่อนำไข่ทั้งสองข้างอุดตันจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือภาวะที่เยื่อบุผนังมดลูกเจริญภายนอกมดลูก ซึ่งพบประมาณ 10 – 50% ในผู้หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อการมีบุตรยากจากภาวะอักเสบที่ทำให้ปริมาณไข่ในรังไข่และคุณภาพของไข่ลดลง รวมทั้งยังทำให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกรานและอาจทำให้ท่อนำไข่ตันได้ หากพบว่ามีภาวะเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ แพทย์จะทำการรักษาตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลต่อไป

สาเหตุอื่นๆ/หาสาเหตุไม่พบ

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

บางครั้งการประเมินภาวะมีบุตรยากอย่างครบถ้วนอาจยังไม่สามารถระบุสาเหตุชัดเจนได้ สามารถเกิดขึ้นได้ประมาณ 15% แต่แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะมีบุตรยาก เราก็ยังมีแนวทางการรักษาที่หลากหลายเพื่อช่วยแก้ปัญหาและนำไปสู่การตั้งครรภ์ที่สำเร็จได้

การประเมินและการทดสอบภาวะเจริญพันธุ์

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

ซักประวัติและตรวจร่างกาย

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด แพทย์ผู้รักษาจะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด ซึ่งจะช่วยให้ได้แนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับคู่สมรสในแต่ละคู่ หลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายแล้วแพทย์จะพิจารณาการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไปตามความเหมาะสม

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

อัลตร้าซาวด์ถุงในรังไข่

อัลตร้าซาวด์เป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินโครงสร้างของมดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ และตรวจในช่วงของการมีประจำเดือน (วันที่ 2-3 ของรอบเดือน) จะสามารถบอกจำนวนของฟองไข่ในรังไข่ได้ด้วย (Antral Follicle Count; AFC)

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

การตรวจในห้องปฏิบัติการ

ก่อนการเริ่มการรักษา ไม่ว่าจะด้วยวิธี IUI หรือ IVF/ ICSI จะมีการตรวจเลือดประเมินความพร้อมก่อนรักษา เช่น ความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count; CBC) ตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมีย (Hb Typing) การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ตับอักเสบบี ตับเอกเสบซี ซิฟิลิส เอดส์ กรุ๊ปเลือด) นอกจากนี้ในฝ่ายหญิงจะมีการตรวจระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก เช่น ฮอร์โมน AMH (ประเมินปริมาณไข่ในร่างกาย) ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH) ฮอร์โมนน้ำนม (Prolactin) ผลที่ได้จะนำมาประเมินวิธีที่เหมาะสมในการรักษาต่อไป

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

การฉีดสีตรวจโพรงมดลูกและปีกมดลูก

แพทย์อาจสั่งให้ทำการฉีดสีตรวจโพรงมดลูกและปีกมดลูก (Hysterosalpingogram: HSG) ในกรณีที่สงสัยว่าอาจมีท่อนำไข่อุดตัน หรือสงสัยว่ามีความผิดปกติในโพรงมดลูก เช่น พังผืด เนื้องอกที่เบียดโพรงมดลูก

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก

การตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิ

การตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิเป็นการทดสอบหลักเพื่อประเมินฝ่ายชาย โดยจะประเมินปริมาณ ความหนาแน่น การเคลื่อนไหว ตลอดจนรูปร่างของอสุจิ หากการวิเคราะห์ได้ผลที่ผิดปกติอาจทำการตรวจประเมินเพิ่มเติม หรือใช้เทคนิคการเก็บน้ำเชื้ออสุจิพิเศษ หรือวิธีการปฏิสนธิรูปแบบอื่น